เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการเลือกรองเท้านิรภัย หรือ รองเท้าเซฟตี้
รองเท้า เซฟตี้ ที่ควรเลือกใช้ต้องได้มาตรฐานอุตสาหกรรม เช่น มอก. 523-2528, JIS T8101, ANSI Z41-1991, EN 345-1:1993 หรือ มาตรฐานอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เป็นที่ยอมรับ เพื่อเราจะได้แน่ใจในคุณภาพของรองเท้าเซฟตี้ว่าต้องมีคุณภาพได้ตามมาตรฐาน ที่กำหนด แต่รองเท้าเซฟตี้ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด ส่วนใหญ่ ก็ได้รับมาตรฐานกันทั้งนั้น แล้วเราจะใช้ข้อมูลใดบ้าง ประกอบการตัดสินใจว่าจะเลือกซื้อรุ่นใด ยี่ห้อใด เพราะแต่ละรุ่นก็ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรมเหมือนกัน ฉะนั้น กระผมจึงนำความรู้เกี่ยวกับรองเท้าเซฟตี้มาฝากท่าน ดังนี้
รองเท้าเซฟตี้ จะมีองค์ประกอบหลักๆของรองเท้าเซฟตี้ ดังต่อไปนี้
- หัวรองเท้า (หัวเหล็ก) : เพื่อ ป้องกันสิ่งของที่ตกมากระแทกกับนิ้วเท้า ซึ่งเป็นที่มาของการเรียกว่า รองเท้าหัวแข็ง/หัวเหล็ก ซึ่งรองเท้าเซฟตี้ทุกแบบทุกยี่ห้อ ที่ได้รับมาตรฐาน จะต้องมีหัวรองเท้า (หัวเหล็ก) ที่รับแรงได้ไม่น้อยกว่า 200 จูล เพื่อป้องกันสิ่งของที่จะตกใส่เท้า/นิ้วเท้า ส่วนใหญ่จะทำมาจากโลหะ แต่หลายๆยี่ห้อนั้น ก็ทำมาจากพลาสติกที่แข็งแรงก็ได้
- พื้นรองเท้า : เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดจากเนื่องจากการเดินเข้าไปเหยียบสิ่งที่อาจทำให้เกิดอันตราย:
- ของมีคม หรือวัตถุที่มีปลายแหลม เช่น ตะปู ลวด เป็นต้น รองเท้าเซฟตี้รุ่นที่มีพื้นชั้นกลางเป็นแผ่นเหล็กสามารถป้องกันของมีคม หรือวัสดุปลายแหลมได้นั้น จะเป็นบางรุ่น หรือบางยี่ห้อ เท่านั้น เนื่องจากมาตรฐานอุตสาหกรรมของเรองเท้าเซฟตี้ ไม่ได้กำหนดหัวข้อนี้ไว้ ดังนั้น ท่านต้องพิจารณาคุณลักษณะ/คุณสมบัติของรองเท้าเซฟตี้ที่ท่านจะเลือกซื้อ ว่าท่านมีความต้องการพื้นรองเท้าที่มีคุณสมบัติในการป้องกันของมีคมหรือไม่
- กระแสไฟฟ้า พื้นรองเท้าเซฟตี้ทุกยี่ห้อ จะเป็นฉนวนป้องกันกระแสไฟฟ้าได้ไม่เกิน 250 โวลต์ แต่ถ้าพนักงานของท่านเสี่ยงต่อการเหยีบวัสดุที่มีกระแสไฟฟ้ามากกว่า 250 โวลต์ ท่านก็ต้องพิจารณาหรือกำหนดคุณสมบัติของรองเท้าให้เหมาะสมกับคุณสมบัติที่ ท่านต้องการ
- สาร เคมี/น้ำมัน ซึ่งคุณสมบัติในการป้องกันสารเคมี หรือน้ำมัน ก็จะขึ้นอยู่คุณสมบัติของวัสดุที่นำมาทำพื้นรองเท้า วัสดุแต่ละชนิดที่นำมาลิตเป็นพื้นรองเท้านั้น จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ดังนี้
ชนิดของพื้นรองเท้า
|
จุดเด่น
|
จุดด้อย
|
พื้นยางไนไตร
|
- ป้องน้ำมันได้ดี
- ป้องกันสารเคมีได้หลายชนิด
- ทนอุณหภูมิได้มากกว่า 140 C
- ทนทาน มีอายุการใช้งานค่อนข้างนาน
|
- ป้องกันการลื่นได้น้อยกว่าวัสดุอื่นๆ
- มีน้ำหนักมากกว่าวัสดุอื่นๆ
|
พื้น PU (Polyurethane)
|
- ป้องกันการลื่นได้ดี
- มีน้ำหนักเบา
- ลดแรงกระแทกได้ดี
|
- มีอายุการใช้งานค่อนข้างสั้น
- สึกกร่อนได้ง่าย กว่าวัสดุอื่นๆ
|
พื้น TPU (Thermo-Plastic Urethane )
|
- ป้องกันการลื่นได้ดี
- มีน้ำหนักเบา
- อายุการใช้งานสูงกว่า PU
- การยืดหยุ่นสูง (การแตกของพื้นรองเท้า)
|
-ราคาค่อนข้างสูงกว่าวัสดุชนิดอื่นๆ
|
- 3. ตัวรองเท้า : ส่วน ใหญ่จะทำมาจากหนัง ซึ่งจะมีคุณภาพ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อ แต่คุณสมบัติโดยทั่วๆไป ไม่แตกต่างกันมากนัก ขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละบุคคลมากกว่า แต่ถ้าลักษณะงานบางชนิดที่อาจกลิ้ง/ตกมาโดนหลังเท้าได้ ท่านอาจกำหนดให้รองเท้าเซฟตี้มีคุณสมบัติในการป้องกันแผ่นหลังเท้าเพิ่มได้ ซึ่งบางรุ่น บางยี่ห้อ ก็มีคุณสมบัตินี้เสริมให้ด้วย